การเพาะเห็ดฟางทั้งหมด

เห็ด ฟางมีวิวัฒนาการในการเพาะที่รวดเร็ว วิธีการเพาะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับวัสดุที่หาได้ในเวลานั้นๆ ซึ่ง๘ระนี้สามารถแบ่งวิธีการเพาะเห็ดฟางได้เป็น 2 วิธี

            1.การเพาะกลางแจ้ง (Outdoor cultivation)

            2.การเพาะในโรงเรือน ( Indoor cultivation)

  

การเพาะกลางแจ้ง

  

เป็น วิธีการเพาะที่เรียบง่าย ใช้วัสดุการเพาะได้หลากหลายชนิด สามารถกำหนดระยะเวลาได้แน่นอน เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่จะเพาะเป็นอาชีพเสริมเลี้ยงครอบครัว การเพาะกลางแจ้งนี้สามารถแบ่งตามวัสดุที่ใช้เพาะได้ดังนี้

            1.การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

            2.การเพาะเห็ดฟางโดยใช้เปลือกถั่วเขียว

            3.การเพาะเห็ดฟางโดยใช้เปลือกมันสำปะหลัง

            4.การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ขี้เลื่อยและผักตบชวาสด

            5.การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ทะลายปาล์ม

            6.การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ก้อนเห็ดถุงที่เก็บผลผลิตแล้ว

            7.การเพาะเห็ดฟางโดยใช้หญ้า

  

การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

            (1) วัสดุและอุปกรณ์

                 1) วัสดุเพาะ ได้แก่ ฟางข้าว ผักตบชวา ทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลัง ขี้เลื่อย หญ้าคา หญ้าขน ชานอ้อย หรือก้อนเห็ดที่เก็บผลผลิตแล้ว

                 2) อาหารเสริม ได้แก่ ไส้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวาสับตากแห้ง ฝักถั่วเหลือง มูลไก่ ผสมดินร่วนในอัตราส่วน 2 : 1

                 3) ไม้แบบ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านบนกว้าง 30 เซนติเมตร ด้านล่างกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 80-20 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร สำหรับไม้แบบที่ใช้วัสดุเพาะเป็นเปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลังจะมีขนาดเล็กกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นอกจากนั้นยังต้องมีแผ่นไม้สำหรับกดให้วัสดุเพาะแน่น แทนการเหยียบย่ำเหมือนกับการเพาะด้วยฟาง

                  4) น้ำ เป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน ไม่เน่าเหม็น ไม่เป็นน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย

                  5) ผ้าพลาสติกที่ใช้ในการคลุมกองเห็นควรใช้ชนิดใสหรือผ้าพลาสติกถุงปุ๋ยถ้าหา ไม่ได้ก็ให้ใช้กระสอบปุ๋ยแทนก็ได้ แต่ต้องนำไปล้างน้ำให้ปราศจากความเค็มของปุ๋ยก่อนเพราะความเค็มจะไปทำให้ เห็ดชะงักการเจริญเติบโตได้

                   6) อุปกรณ์ให้น้ำ บังรดน้ำ ถังใส่น้ำ และจอบใช้เตรียมพื้นที่

                   7) เชื้อเห็ดฟาง ต้องเป็นเชื้อที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ทิ้งไว้ไม่เกิน 1 สัปดาห์

                   8) เศษฟาง เศษหญ้าแห้ง แผงหญ้าคา สำหรับคลุมกองเพาะเห็ด เพื่อพรางแสงแดด และช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในกองและสิ่งแวดล้อม

                   9) สถานที่สำหรับเพาะต้องเป็นพื้นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง และต้องไม่เคยเป็นที่เพาะเห็ดฟางมาก่อน 1-2 เดือน ไม่มีมด ปลวกรบกวน ไม่ควรเพาะในที่เป็นดินเค็ม หรือมีสารเคมีตกค้างมาจากการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

            (2) ขั้นตอนและเทคนิคการเพาะเห็ดฟาง

                   1) นำวัสดุเพาะรวมทั้งอาหารเสริมทุกชนิดไปแช่น้ำให้ชุ่มเสียก่อน ยกเว้นอาหารเสริมที่ได้จากมูลสัตว์ผสมดินไม่ต้องแช่น้ำ โดยปลายฟาง หญ้าคา ควรแช่น้ำ 1-2 วัน ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวา แช่ 1-2 ชั่วโมง

                   2) ปรับดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม วางแบบพิมพ์ลงบนดิน

                  3) ใส่ฟางลงไปให้หนา 8-12 เซนติเมตร ใช้มือกอให้แน่น หรืออาจจะเหยียบสัก 1-2 เที่ยว

                  4) ใส่อาหารเสริมบริเวณขอบโดยรอบ กว้าง 5-7 เซนติเมตร

                  5) โรยเชื้อเห็ดโดยรอบบนอาหารเสริม เชื้อเห็ดที่ใช้ควรบี้ให้แตกออกจากกันเสียก่อนเป็นอันเสร็จชั้นที่ 1 เมื่อเสร็จแล้วก็ทำชั้นต่อไปโดยทำเช่นเดียวกับการทำชั้นแรกคือฟางลงในแบบไม้ อัดหนา 8-12 เซนติเมตร กดให้แน่น ใส่อาหารเสริม โรยเชื้อในช่วงฤดูหนาวหรืออุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ควรทำ 4-5 ชั้น หรือสูง 35-40 เซนติเมตร ส่วนในฤดูร้อน ควรทำ 3 ชั้น หรือสูง 28-30 เซนติเมตร

                  6) เมื่อทำกองเสร็จแล้ว ชั้นสุดท้ายคลุมฟางหนา 2-3 เซนติเมตร รดน้ำบนกองให้โชกอีกครั้ง ถอดแบบพิมพ์ เพื่อนำไปใช้เพาะกองต่อไป

                  7) การโรยเชื้อชั้นสุดท้าย ใช้เชื้อเห็ดฟางผสมกับอาหารเสริมโรยรอบกองทั้งนี้จะทำให้ได้ดอกเห็ดเกิด ระหว่างกอง เป็นการเพิ่มปริมาณดอกเห็ด นอกเหนือจากดอกเห็ดที่ได้จากกองเห็ด

                  การ เพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยมักจะทำกองใกล้ๆ กัน ห่างกันประมาณ 1 คืบโดยกองขนานกันไป 10-20 กอง เพื่อทำให้อุณหภูมิและความชื้นของกองไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนัก

                  8)คลุมด้วยพลาสติกใสหรือทึบ การคลุมกองให้คลุมทั้งหมดด้วยผ้าพลาสติก 2ผืน โดยให้ขอบด้านหนึ่งทับกันบริเวณหลังกอง จากนั้นใช้ฟางแห้งคลุมทับพลาสติกอีกทีหรือาจทำแผงจากปิดไม่ให้แสงแดดส่องถึง ก่อนการคลุมด้วยพลาสติกอาจทำโครงไม้เหนือกองเพื่อไม่ให้พลาสติกติดหลังกอง แล้วปิดด้วยฟางหลวมๆ ก่อน

                  ในฤดูร้อนแดดจัด ระยะ 3 วัน แรกควรเปิดผ้าพลาสติกหลังกองกว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ เวลากลางวันถึงตอนดวงอาทิตย์ตก ส่วนกลางคืนปิดไว้อย่างเดิม ส่วนฟางคลุมเอาไว้เหมือนเดิม ในวันที่ 4-5 ให้ตรวจดูความชื้น ถ้าเห็นว่าข้างและหลังกองแห้งให้ใช้บัวรดน้ำโชยน้ำเบาๆ ให้ชื้น แล้วปิดไว้อย่างเดิม

                  โดย ปกติแล้วการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย หลังจากปิดด้วยผ้าพลาสติกและฟางแล้ว ก็มักไม่ต้องทำอะไร มีการปรับความชื้นให้เพียงพอก่อนปิดผ้าพลาสติก ปิดไว้ 3 วันแรกวันที่ 4-7 เปิดระบายอากาศวันละ 10 -15 นาที

                  9)ประมาณ 7-9 วัน สามารถเก็บผลผลิตได้

การเพาะเห็ดฟางโดยใช้เปลือกถั่วเขียว

                  (1) การเตรียมพื้นที่ ควรใช้จอบดายหญ้า ขุดและพรวนดินคล้ายการเตรียมดินปลูกผัก โดยการพรวนดินนับว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตเห็ดฟางมาก เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ จะมีเห็ดฟางเจริญเติบโตบนพื้นดินมาก

                  (2) การเตรียมเปลือกฝักถั่วเขียวที่จะใช้เพาะเห็ด ควรใช้เปลือกถั่วที่ผ่านการนวดใหม่ๆ และต้องแห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อราชนิดอื่นเจริญปะปน นำเปลือกถั่วเขียวมาแช่น้ำในถังขนาด 200 ลิตร ให้ดูดความชื้นประมาณ 1 ชั่วโมง

                  (3) นำไม้แบบวางบนแปลงที่เตรียมไว้ รดน้ำจนชุ่ม พร้อมกับนำเปลือกถั่วเขียวใส่ลงไปในไม้แบบ ใช้มือเกลี่ยเปลือกถัวเขียวให้สม่ำเสมอและกดให้แน่นพอสมควร โดยให้ชั้นของเปลือกถั่วเขียวหนาประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วใช้บัวรดน้ำรดลงบนเปลือกถั่วให้เปลือกถั่วจับกันแน่นพอสมควร จากนั้นจึงยกไม้แบบออกและทำแปลงต่อไปให้ห่างจากแปลงเดินประมาณ 1 คืบ ในแปลงเพาะเห็ดแปลงหนึ่งๆ จะใช้ไม้แบบทำกองเปลือกถั่วเขียวประมาณ 9-12 กอง

                  (4) การเตรียมดิน หลังจากกองเปลือกผักถั่วเขียวแปลงเรียบร้อยแล้วครวพรวนดินระหว่างกองเปลือก ถั่ว และพื้นที่รอบ ๆ กองเปลือกถั่วเขียวทั้งหมด พร้อมกับนำอาหารเสริมพวกมูลสัตว์ผสมกับละอองข้าว ในอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร คลุกเคล้ากับดินรอบ ๆ แปลงหรืออาจจะใช้รำหยาบหรือรำละเอียดแทนก็ได้ จากนั้นจึงรดน้ำให้ชุ่ม

                  (5) การโรยเชื้อเห็ด นำเชื้อเห็ดมาบี้ให้เป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมกับนำมาโรยบนอาหารเสริมรอบๆ กองเปลือกถั่วเขียว โดยทั่วไปจะใช้เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุงต่อกองเปลือกถั่วเขียว 5-6 กองโดยพยายามโรยเชื้อเห็ดฟางให้ชิดกับกองเปลือกถั่วเขียว

                  (6) การคลุมพลาสติก หลังจากเตรียมแปลงเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้พลาสติกที่มีความกว้างประมาณ 1 เมตร คลุมกองเปลือกถั่วลักษณะแบนราบทั่วทั้งแปลง จากนั้นจึงใช้จากหรือหญ้าคาคลุมทับแปลงเห็ด เพื่อป้องกันแสงแดด พลาสติกที่คลุมจะช่วยรักษาความชื้นและอุณหภูมิในแปลงเห็ดให้เหมาะสมต่อการ เจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดฟาง ต้องระมัดระวังไม่ให้กองเปลือกถั่ว๔ถูกโกรก คลุมกองเปลือกถั่วเขียวไว้ประมาณ 4 วัน

                  (7) การดูแลรักษา หลังจากโรยเชื้อได้ 5 วัน ควรเอาจากหรือหญ้าคาที่คลุมแปงออกและเปิดพลาสติกคลุมกองเปลือกถั่วให้อากาศ ระบายถ่ายเทเข้าไปในแปลงเห็ดพร้อมกับนำโครงไม้ไผ่มาโก่งเสียบที่ขอบแปลง แปลงหนึ่งๆ จะใช้โครงไม้ไผ่ประมาณ 4 อันพร้อมกับใช้ผ้าพลาสติกคลุมลงบนโครงไม่ไผ่ และใช้จากหรือหญ้าคาคลุมทับอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันแสงแดด ในระยะนี้กองเปลือกถั่วเขียวแห้งเกินไป ก็รดน้ำให้ความชื้นแก่กองเปลือกถั่วเขียวได้

                  (8) การเกิดดอกเห็ด หลังจากเพาะเห็ดได้ 8-9 วัน เส้นใยของดอกเห็ดจะพัฒนาไปเป็นตุ่มดอกเล็ก ๆ เท่าหัวเข็มหมุด ควรเพิ่มความชื้นให้แก่แปลงเห็ดโดยใช้หัวฉีดที่ใช้สำหรับฉีดสารเคมีฉีดน้ำ ให้เป็นฝอย แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้ถูกดอกเห็ดโดยตรงเพราะจะทำให้ดอกเห็ดเน่าเสียได้

                  (9) การเก็บผลผลิต หลังจากเพาะเห็ดได้ 11-13 วัน ดอกเห็ดจะมีขนาดโตพอที่จะเก็บนำไปจำหน่ายได้ ควรเลือกเก็บดอกเห็ดในระยะดอกตูม ซึ่งเจริญเติบโตบนพื้นดินรอบๆ กองเปลือกถั่วเขียว การเก็บผลผลิตรุ่นแรกจะให้ผลผลิตสูงมาก ส่วนผลผลิตของเห็ดฟางในรุ่นที่สองจะลดลง

 

 

การเพาะเห็ดฟางโดยใช้เปลือกมันสำปะหลัง

1. การเตรียมพื้นที่ ปรับพื้นที่ให้เรียบ เพื่อไม่ให้มีน้ำขัง เก็บเศษวัชพืชในแปลงออกให้หมด

2. การเตรียมแปลงเพาะเห็ดฟาง ขุดดินแปลงเพาะให้ลึกประมาณ 10 เซนติดเมตรขนาดความกว้างของแปลง 80 เซนติเมตร ความยาวของแปลงโดยเฉลี่ย 5.60-7.80 เมตร หลังจากนั้นพรวนดินในแปลงเพาะพร้อมทั้งคราดปรับระดับให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง

3. วิธีการและขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางจากเปลือกมันสำปะหลัง

              1. รดน้ำให้ชุ่มทั่วทั้งแปลง

              2. ขึงเชือกหัวแปลง-ท้ายแปลงด้านใดด้านหนึ่งตามความยาวของแปลง

              3. อัดเปลือกมันลงในบล๊อคไม้แบบให้แน่น รดน้ำลงในแบบที่อัดเปลือกมันถอดบล๊อคออกและนำแบบไปตั้งกองใหม่ ใส่เปลือกมันให้เสร็จทั้งแปลงในลักษณะเดียวกัน โดยห่างกันแถวละ 20 เซนติเมตร จะได้กองเปลือกมัน 15-20 แถว (30-40 กอง) ต่อแปลง

              4. พรวนดินระหว่างช่องว่างของกองเปลือกมันให้ทั่วทั้งแปลง

              5. หว่านปุ๋ยคอกให้ทั่วทั้งแปลง ในอัตราส่วน 1-2 ปี๊บ/แปลง

              6. รดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นนำเชื้อเห็ดฟางใส่กะละมัง บี้เชื้อเห็ดฟางให้แตกออกจากัน โดยใช้เชื้อเห็ดฟาง 15-20 ถุง/แปลง

              7. โรยเชื้อเห็ดฟางระหว่างช่องว่าของกองเปลือกมันให้ทั่ว และรดน้ำให้ชุ่ม

              8. ปักโครงไม้ไผ่ จำนวน 15-20 อัน/แปลง

              9. คลุมด้วยพลาสติกใสตลอดแปลงให้มิดชิดพร้อมกับคลุมหลังแปลงด้วยเศษฟางข้าว

4.การดูแลรักษา

               1. หลังเพาะเห็ดฟางได้ 3 วัน ใช้บัวรดน้ำรดแปลงเพาะเห็ด เพื่อตัดเส้นใยไม่ให้เดินต่อ โดยใช้น้ำรด 6-8 บัวรดน้ำ/แปลง

               2. ก่อนเก็บผลผลิตทุกครั้งให้รดน้ำแปลงเพาะเห็ดในตอนเย็น และเก็บผลผลิตเห็ดฟางในตอนเช้า

5. การเก็บผลผลิตเห็ดฟาง สามารถเก็บผลผลิตได้จำนวน 2 รุ่น คือ

       รุ่นที่ 1 จะเริ่มเก็บผลผลิตได้หลังจากเพาะ 7-10 วัน และจะสามารถเก็บผลผลิตได้ติดต่อกัน 3-4 วัน ซึ่งจะให้ผลผลิตรวมประมาณ 30-35 กิโลกรัม/แปลง

                   รุ่นที่ 2 หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นที่ 1 เสร็จ ให้เปิดพลาสติกคลุมแปลงออกใช้บัวรดน้ำรดแปลงเพาะเห็ด 2-3 บัวรดน้ำ ต่อแปลง เพื่อล้างแปลง จากนั้นคลุมพลาสติกและเศษฟางข้าวให้ทั่วแปลง หลังจากนั้นอีก 7 วัน ก็จะสามารถเก็บผลผลิตรุ่นที่ 2 ได้อีก 3-4 วัน เหมือนรุ่นที่ 1 ส่วนผลผลิตที่ได้ประมาณ 30-35 กิโลกรัม/แปลง

 

 

การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ขี้เลื่อย ไม้ยางพารา และผักตบชวาสด

  

เป็น วิธีเพาะที่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่น ทดแทนการใช้ฟางข้าวซึ่งมีปริมาณน้อยและราคาแพง นิยมเพาะใต้ร่มไม้ในสวนยาง สวนปาล์ม โดยวิธีการเพาะมีดังนี้

             1.วางแบบพิมพ์ไม้ลงบนพื้นราบ

             2.แช่ขี้เลื่อยไม้ยางพาราในน้ำให้ชุ่มและใส่ลงในแบบไม้หนา 5-7 เซนติเมตร ใส่ผักตบชวาที่สับเป็นท่อนยาว 5-7 นิ้ว หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วจึงโรยเชื้อเห็ดฟางโดยโรยชั้นละประมาณ 1/3 ของถุง

              3.ทำชั้นที่ 2, 3, 4 และ 5 เช่นเดียวกันกับการชั้นที่ 1

              4.ถอดแบบพิมพ์ออกแล้วใช้กิ่งไม้ขนาดเท่าดินสอดำยาว 8-10 นิ้ว หรือไม้ไผ่ทำโครงกองละ 5-6 อัน เพื่อใช้ค้ำผ้าพลาสติกไม่ให้ผล้าพลาสติกติดหลังกองหลังจากปิดด้วยผ้าพลาสติก

               5.คลุมด้วยผ้าพลาสติกและแผงใบจาก

               6.การดูแลรักษาและการเก็บรักษาผลผลิตเห็ดมีวิธีการเช่นเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น

 

 

การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ทะลายปาล์ม

1. เตรียมวัสดุเพาะ มีดังนี้

                 - ทะลายปาล์ม 1 คันรถ

                 - ขี้เลื่อยไม้ยางพาราสด 1 กระสอบปุ๋ยต่อ 1 บล็อก

                 - บล๊อคไม้ใช้ไม้ขนาด 11 /2 x 3 นิ้ว ทำเป็นบล๊อคกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร

                 - พลาสติกสีเท่ความยาว 320 เซนติเมตรต่อ 1 บล็อก

                 - ใช้เชื้อเห็ดฟาง 6-7 ถุง ต่อ 1 บล็อก

                 - ใช้ไม้ไผ่ทำโครงความยาว 180 เซนติเมตร

          2. วิธีการเพาะ ทำการเพาะใต้ร่วมไม้เหมือนการใช้ขี้เลื่อยและผักตบชวา โดยนำทะลายปาล์มมา 1 คันรถ ทำการหมักรดน้ำให้เปียกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง วันละ 1 ครั้ง เสร็จแล้วเอาพลาสติกสีดำคลุมให้มิดชิดทำเช่นนี้ 4 วัน แล้วคลุมพลาสติกทิ้งไว้อีก 12-15 วัน พอถึงวันเพาะให้เอาบล๊อควางลงพื้นเทขี้เลื่อยลงไปในบล๊อคเกลี่ยให้เรียบ นำทะลายปาล์มวางให้เต็มบล๊อครถน้ำให้เปียก เอาเชื้อเห็ดโรยให้ทั่ว เสร็จแล้วใช้น้ำรดให้ทั่วอีกประมาณ 1 บัวรดน้ำ เอาพลาสติกคลุมให้ติดพื้น ประมาณ 8-10 วัน โดยทำโครงไม้ไผ่สูง 60 เซนติเมตรกันไม่ให้พลาสติกติดกองเห็ดด้วย ต่อมาประมาณ 2-3 วัน ก็เก็บดอกเห็ดได้ จากวันแรกจนถึงวันเก็บผลผลิตประมาณ 10-12 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าฝนตกมากดอกเห็ดจะเกิดช้ากว่าประมาณ 2-5 วัน

 

 การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ก้อนเห็ดที่ทิ้งแล้ว

1.เตรียมสถานที่ เตรียมดินให้เรียบ กำจัดวัชพืชออก จากนั้นฉีดน้ำลงบนดินให้เปียกชุ่มทิ้งไว้ 1 คืน

2.แช่ฟาง ถ้าเป็นปลายฟางควรแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน หรือฉีดน้ำบนกองฟางเหยียบให้เปียกชื้นแล้วใช้พลาสติกคลุมไว้ 1 คืน

3.นำ ก้อนเห็ดที่เตรียมไว้มาใส่ในกระบะ โดยวางกระบะด้านกว้างลงบนพื้นดินแล้วนำก้อนเห็ดมาเรียงในกระบะให้ปากถุงชน กับด้านข้างของกระบะส่วนกว้างเรียงจนเต็มใช้มีดโต้สับถุงเห็ดให้ขาดพอประมาณ

4.หลังจากสับถุงแตกหมดแล้ว นำฟางที่แช่ไว้มาวางทับลงบนถุงเห็ดบางๆ หนาประมาณ 1 เซนติเมตร โดยวางให้ติดขอบกระบะ

5.นำอาหารเสริม คือ ใส่นุ่นหรือผักตบชวาสับตากแห้ง แช่น้ำให้ชุ่มแล้วนำมาโรยบนกองเพาะจากขอบกระบะเข้าไปประมาณ 2 นิ้วโดยรอบ แล้วโชยน้ำลงบนกองเพาะประมาณครึ่งกระป๋องบัวรดน้ำ

6.นำเชื้อเห็ดฟางที่ยีแล้วโรยลงบนกองเพาะ โดยโรยเฉพาะขอบกอง เป็นอันเสร็จชั้นที่ 1

7.ทำแบบเดียวกับข้อ 1-6 ในชั้นที่ 2 และ 3 ซึ่งทำทั้งหมด 3 ชั้นแล้วนำแบบออก เป็นอันเสร็จ 1 กอง แล้วเริ่มทำกองต่อไปโดยเว้นระยะห่างกัน 6 นิ้ว แต่ในฤดูร้อนและฤดูฝนควรให้ห่างประมาณ 10-12 นิ้ว ทำต่อไปประมาณ 8 กอง หรือแล้วแต่ความเหมาะสม ระหว่างกองโรยเชื้อเห็ดด้วย กองเพาะเห็ด 2 กอง จะใช้เชื้อเห็ดฟางจำนวน 3 ถุง

8.เมื้อทำเสร็จ 1 แปลง หรือ 8 กอง โชยน้ำอีกครั้ง นำผ้าพลาสติกคลุมแปลงเพาะ แล้วนำฟางหรือเศษหญ้าแห้งคลุมอีกทีเพื่อป้องกันแสงแดด

9.การดูแลรักษากองเพาะ

               - ใน 3 วันแรก ไม่ต้องทำอะไรกับกองเพาะเลยเพียงแต่คอยระมัดระวังไม่ให้ไก่หรือสัตว์อื่นๆ เข้าไปรบกวนกองเพาะเห็ด

               - วันที่ 4 ตอนเช้าให้เปิดกองเพาะทั้งสองข้างขึ้นทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วจึงปิด หลังจากนั้นเปิดผ้าพลาสติกตรงกลางออกกว้างประมาณ 5 เซนติเมตรประมาณ 10 นาที แล้วจึงคลุมผ้าเหมือนเดิม เพื่อเป็นการระบายความร้อน

               - ในวันที่ 5-6-7 ช่วงเช้าและเย็นควรเปิดผ้าออกเพื่อเป็นการระบายความร้อนแต่ถ้าดินแห้งควรเอาน้ำรดบริเวณที่แห้ง โดยไม่ให้กระทบกระเทือนดอกเห็ด

               - ถ้าดอกเห็ดโตพอประมาณจึงเริ่มเก็บ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ดอกบานเพราะจะเสียราคาได้

10.การเก็บดอกเห็ด จะเก็บได้หลังจากเพาะเห็ดแล้ว 7 วัน ขึ้นอยู่กับความร้อนแลฤดูกาล ในฤดูร้อนแลฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็ว แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวจะเก็บได้ช้า เห็ดจะออกดีในช่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคม และควรเลือกเก็บเฉพาะดอกเห็ดที่ตูม จะทำให้ได้เห็ดที่มีคุณภาพดี

11.วิธี เก็บ ให้ใช้นิ้วชี้กดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้นเบาๆ ดอกเห็ดก็จะหลุดออกมาโดยง่าย ถ้าดอกเห็ดออกเป็นกลุ่มให้สังเกตดูว่าในกลุ่มนั้นมีดอกโตพอประมาณที่จะเก็บ ได้มากกว่าดอกขนาดเล็กก็ควรเก็บได้เลยทั้งกลุ่ม และขณะเก็บดอกเห็ดไม่ควรกระทบกระเทือนดอกที่ยังเก็บไม่ได้เพราะอาจทำให้ดอก เห็ดอื่นช้ำและฝ่อได้ เมื่อเก็บเห็ดออกมาแล้ว ต้องตัดแต่งเอาเศษวัสดุที่ติดมาออก เพื่อความสวยงาม แล้วจึงใส่ภาชนะนำส่งขายต่อไป

สำหรับผลผลิตต่อกองเพาะหรือแปลง โดยเฉลี่ยแล้วจะได้กองละประมาณ 500 กรัม ขึ้นไป ในเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายนเคยได้ผลผลิตระหว่าง 10-17 กิโลกรัมต่อแปลง ซึ่งเก็บได้ถึง 3 ครั้ง และครั้งหลังๆ ดอกเห็ดจะขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา และวัสดุที่ใช้เพาะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น

 

 การเพาะเห็ดฟางโดยใช้หญ้า

เป็น วิธีเพาะที่ทำกันมากในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการนำหญ้าที่มีอยู่มากในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ทดแทนวัสดุอื่นที่หายาก เป็นการกำจัดวัชพืช และลดปัญหาๆไฟป่าได้อีกด้วยในประเทศไทยนั้นวิธีนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมาก นัก เนื่องจากเกษตรกรยังไม่ค่อยคุ้นเคย สำหรับขั้นตอนวิธีการเพาะจะเหมือนกับวิธีที่กล่าวไปแล้วการเพาะเห็ดฟางโดย ใช้หญ้ามีหลายสูตรด้วยกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่หาได้ดังแสดงไว้ในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 สูตรการเพาะเห็ดฟางโดยใช้หญ้า

 

 

ส่วนผสม

(กิโลกรัม)

สูตรที่

1

2

3

4

5

6

7

8

9

-ตอซังข้าว

-หญ้าป่น

-เปลือกเม็ดบัว

-กากเมล็ดฝ้าย

-มูลสัตว์แห้ง

-มูลหมูหรือมูลสัตว์

-รำข้าวสาลี

-ยิปซั่ม

-ปูนขาว, หินปูน

100

-

-

-

-

-

5

-

1

50

50

-

-

-

-

5

-

1

40

40

-

-

-

20

-

-

1

50

-

50

-

-

-

-

-

0.5

90

-

-

-

10

-

5

-

0.5

45

45

-

-

10

-

-

-

0.5

-

-

-

100

-

-

-

1

1

50

50

-

50

50

5

-

-

1

30

47

-

-

-

10

10

1

2

 

 

การเพาะในโรงเรือน

เป็น วิธีการเพาะที่ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ สามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี ซึ่งปัจจุบันนิยมทำการเพาะเห็ดในลักษณะนี้กันมากจนถึงเป็นอุตสาหกรรมใน พื้นที่ การเพาะเห็ดในโรงเรือนมีขั้นตอนวิธีการเพาะดังนี้

1.วัสดุเพาะ

                - ฟางข้าว (ใช้ตอซังข้าวจะได้ผลดีที่สุด) หรือใช้ปลายฟางข้าว 250 กิโลกรัมหมักกับปูนขาว 2 กิโลกรัม รำข้าว 5 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรีย 0.5 กิโลกรัม คลุมด้วยผ้าพลาสติก 2 วัน (สำหรับใช้วางรองวัสดุเพาะ)

                - กากฝ้าย (กากฝ้ายที่เรียกว่า ?ฝ้ายข้าวตอก? จะดีที่สุด)

                - รำละเอียด

                - แป้งข้าวเหนียว (อาจใช้แป้งข้าวสาลีแทนก็ได้)

                - ยิปซั่ม

                - ปูนขาวที่ทำจากเปลือกหอย (ปูนเปลือกหอย)

                - เปลือกถั่วเหลือง (ไม่ใช้ก็ได้)

                - ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0

                - วัสดุฆ่าเชื้อ ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ ปูนขาวก่อสร้าง

2.โรงเรือน

                - ปลูกแบบหลังคาทรงหน้าจั่ว

                - กว้าง 5.80 เมตร ยาว 6.80 เมตร สูงจากพื้นถึงชายล่างของหลังคา 2.50 เมตร และสูงจากพื้นถึงยอดบนสุดของหลังคา 3.50 เมตร

                - ประตูหน้า-หลัง ด้านละ 2 บาน กว้าง 0.75 เมตร สูง 1.75 เมตร บนประตูทั้ง 4 บาน ทำหน้าต่างกว้างเท่ากับประตู สูง 30 เซนติเมตร (ติดตั้งโดยใส่แกนตรงขอบหน้าต่างด้านข้างด้านละ 1 แกน หน้าต่างจะหมุนเปิดได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง)

                - ภายในโรงเรือน กรุด้วยพลาสติกทนร้อน (อย่างหนา) ทั้งที่ฝาผนังโรงเรือนและหลังคากรุให้มิดชิดทุกด้าน เพื่อให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นได้

                - ด้านนอกโรงเรือน ฝาผนังทุกด้านกรุด้วยแฝกให้มิดชิดทุกด้านจนถึงชายคาไม่ให้แสงเข้าได้ (อาจใช้วัสดุอื่นแทนแฝกก็ได้ แต่ถ้าใช้แฝกจะเปิด-ปิดบังแสงได้ง่ายกว่า)

                - พื้นโรงเรือน อาจเทคอนกรีตหรือไม่เทก็ได้ ถ้าจะเทคอนกรีตจะต้องเว้นเป็นช่องใต้ชั้นไว้เพื่อให้โรงเรือนได้รับอุณหภูมิ และความชื้นจากดิน แต่ถ้าไม่เทคอนกรีตอาจใช้หินคลุกอัดให้แน่นแทนก็ได้

  

3.ชั้นสำหรับวางวัสดุเพาะ

                - โรงเรือนขนาดนี้ ควรทำชั้น 3 ชุด (เกษตรกรอาจเรียกว่า 3 ขา) ชุดละ 4 ชั้น กว้าง 80-90 เซนติเมตร ยาว 5 เมตร ชั้นแรกสูงจากพื้น 30 เซนติเมตร ชั้นต่อๆ ไปสูงห่างกันชั้นละ 60 เซนติเมตร ตั้งห่างจากฝาผนังโรงเรือนโดยรอบ 80-90 เซนติเมตร

                - ควรใช้เสาคอนกรีต (เพื่อ ความคงทนและป้องกันปลวก) ส่วนอื่นๆ ควรใช้ไม้ไผ่เพียงอย่างเดียว ห้ามใช้ท่อประปาและท่อ พี.วี.ซี. เพราะอาจจะเคลือบสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อการเกิดดอกเห็ดได้

                - พื้นของชั้น ปูด้วยไม้ไผ่ (ไม้รวก) ห่างกันประมาณ 5-10 เซนติเมตร

4.เครื่องมือวัดอุณหภูมิในโรงเรือน

                - ใช้เทอร์โมมิเตอร์ชนิดที่มีสเกลวัดเป็นองศาเซลเซียส 1-2 อัน

5.กระบะหมักอาหารเสริม (กากฝ้าย และอื่นๆ)

                - ทำเป็นพื้นคอนกรีต ยกขอบทั้ง 4 ด้าน เจาะรูระบายน้ำออกด้านละ 2 รู กระบะจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็ได้ และทำได้หลายขนาด เช่น 2.5x2.5 เมตร, 3x3 เมตร หรือ 4x4 เมตร ยกขอบกระบะสูงประมาณ 30 เซนติเมตร

                 - สูตรอาหารสำหรับ 1 โรงเรือน ประกอบด้วย

                 - กากฝ้าย 250 กิโลกรัม (อาจใช้น้อยกว่านี้ โดยเพิ่มเปลือกถั่วเหลืองเข้าไปแทนก็ได้)

                 - รำละเอียด 15 กิโลกรัม

                 - แป้งข้าวเหนียว 2 กิโลกรัม

                 - ยิปซั่ม 3 กิโลกรัม (ฤดูร้อนใช้ 2.5 กิโลกรัม)

                 - ปลือกถั่วเหลือง 30.50 กิโลกรัม (ผสมกับกากฝ้ายบางส่วน)

                 - ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 400 กิโลกรัม

6.หม้อต้มผลติไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรคในโรงเรือน

ใช้ถังน้ำขนาด 200 ลิตร วางถังนอนบนเตา (ที่ทำขึ้นเอง) คู่กัน หันด้านที่เปิดฝาขึ้นด้านบน (ฝาเกลียวเล็กๆ) ต่อท่อหัวเกลียวที่มีขนาดเท่ากับฝาถัง (ประมาณ 2 นิ้ว) ออกมา ทำที่สำหรับเติมน้ำ แล้วใช้สายยางต่อจากท่อเหล็กไปยังโรงเรือน โดยให้สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกโรงเรือน ไอน้ำจะออกจากถังต้มผ่านท่อเหลือกและสายยางไปเข้าโรงเรือนเพื่อฆ่าเชื้อ ต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อการเกิดดอกเห็ด หม้อต้มอาจดัดแปลงทำได้หลายแบบแล้วแต่ทุนมากหรือน้อย ส่วนเชื้อเพลิงอาจใช้ฟืน แก๊ส น้ำมัน หรือเชื้อเพลิงอาจใช้ฟืน แก๊ส น้ำมัน หรือเชื้อเพลิงอย่างอื่นแล้วแต่จะหาได้ แต่ต้องเป็นเชื้อเพลิงที่ให้ความรู้สูง

7.วิธีการเพาะ

                วันที่ 1 (วัน แรกที่เริ่มปฏิบัติ ไม่ใช่วันในปฏิทิน) นำกากฝ้ายผสมเปลือกถั่วเหลืองลงเกลี่ยให้ทั่วกระบะ รดน้ำให้เปียกโชก (อุดรูกระบะไม่ให้น้ำไหลออก) กากฝ้ายที่อยู่ด้านล่าง อาจจะไม่เปียกควรกลับกากฝ้ายที่อยู่ด้านล่างขึ้นข้างบน เพื่อให้กากฝ้ายเปียกน้ำโดยทั่วถึงเมื่อกากฝ้ายเปียกน้ำชุ่มดีแล้วเปิดน้ำ ออกให้แห้ง แล้วรวมกากฝ้ายกองเป็นรูปยอดแหลม (รูปปิรามิด) ตบกองให้แน่นคลุมด้วยผ้าพลาสติกและกระสอบป่านอีกชั้นหนึ่ง

                วันที่ 2 เปิด ผ้าคลุมออก กระจายกองกากฝ้ายแล้วนำส่วนผสมต่างๆ ทั้งหมดคลุกเคล้ากับกากฝ้ายและเปลือกถั่วเหลืองให้ทั่ว แล้วรวมกองเป็นรูปฝาชี ใช้ผ้าพลาสติกคลุมไว้หลวมๆ หมักทิ้งไว้อีก 1-2 คืน ในวันนี้จะต้องนำตอซังข้าวหรือปลายฟางข้าวที่หมักไว้ (อาจใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ได้) ขึ้นเรียงบนชั้นเพาะ ถ้าจะใช้ตอซังเพียงอย่างเดียวใช้ 80-100 ฟ่อน ถ้าใช้ปลายฟางหมักใช้ 250 กิโลกรัม ถ้าใช้ทั้งสองอย่างก็ลดลงตามส่วนและก่อนที่จะนำฟางขึ้นเรียงนั้น จะต้องมั่นใจว่าชั้นวางโรงเรือนมีความสะอาดเพียงพอ ผ่านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

                วันที่ 3 เปิดผ้าคลุมกองวัสดุหมักออก กระจายกองออก เพื่อให้แก๊สที่เกิดจากการหมักหมดไป แบ่งกองวัสดุหมักออกเป็น 12 กอง เท่าๆ กัน (เท่ากับจำนวนชั้นเพาะ) แล้วขนไปเกลี่ยบนฟางที่เรียงไว้ในโรงเรือน ชั้นละ 1 กอง กระจายให้ทั่ว แต่ให้ห่างจากริมฟางที่เรียงด้านละ 1 ฝ่ามือ (เพื่อ ป้องกันไม่ให้ตกหล่นเวลาพ่นน้ำ) ใช้มือกดให้แน่นพอประมาณ เพื่อเวลาเก็บดอกเห็ด เศษอาหารเสริมจะได้ไม่ติดขึ้นมาและเส้นใยเห็ดก็จะเดินได้ดีด้วย แต่อย่ากดให้แน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้การระบายอากาศในแปลงเพาะไม่ดีเส้นใย เดินไม่สะดวก เสร็จแล้วปิดโรงเรือนให้มิดชิด ควบคุมคุมอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิไม่ถึงให้ใช้ไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิ ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการเพาะเลี้ยงเชื้อราอีกชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า ?แอคติโนมัยซีส? ให้ มีปริมาณมาก เพราะเชื้อราชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเป็นธาตุอาหารที่เห็ดไม่สามารถนำไปใช้ได้ ให้อยู่ในรูปที่เห็ดสามารถนำไปใช้ได้ แต่มีข้อควรระวังว่าก่อนที่จะโรยเห็ดฟางจะต้องฆ่าเชื้อราแอคติโนมัยซีสให้ หมดเสียก่อน มิฉะนั้นเชื้อนี้จะกินเส้นใยของเห็ดฟางได้

                วันที่ 4 หลังจากเลี้ยงเชื้อราไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง ให้ทำการอบไอน้ำในโรงเรือนเพื่อฆ่าเชื้อราและเชื้ออื่นๆ ที่อุณหภูมิ 60-65 องศาเซลเซียส ประมาณ 5-6 ชั่วโมง แล้วพักโรงเรือนไว้ 1 คืน

                 วันที่ 5 โรยเชื้อเห็ดฟางให้ทั่วทุกชั้น โดยใช้เชื้อเห็ดฟางชั้นละประมาณ 15-20 ถุง ควรเลือกใช้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดี มีเส้นใยสีขาวเดินเต็มถุง ไม่มีเชื้ออื่นปน เชื้อไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป เมื่อโรยเชื้อเห็ดเสร็จแล้ว ปิดโรงเรือนให้มิดชิด อย่าให้แสงเข้าได้ ควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนไว้ประมาณ 35-36 องศาเซลเซียส ประมาณ 3 วัน ใยเห็ดจะเดินทั่วแปลง

                 วันที่ 8 เมื่อ เห็นว่าใยเห็ดเดินทั่วแปลงแล้ว ให้เปิดวัสดุบังแสงออกให้หมดทุกด้าน ถ้าวัสดุที่ใช้บังแสงเป็นหญ้าแฝกให้รวบเข้าหากัน แล้วใช้ลวดหรือตอกมัดเป็นช่วงๆ ปิดไว้ 2-3 วัน

                 วันที่ 9 เปิด ประตู หน้าต่างๆ เพื่อไล่แก๊สแอมโมเนียและแก๊สอื่นๆ ที่เป็นอันตรายแก่การเกิดดอกเห็ด และเป็นอันตรายแก่คนออกจากโรงเรือนให้หมด โดยเปิดโรงเรือนไว้ประมาณ 3-5 นาที ต่อครั้ง

                 วันที่ 10 หลังจากเปิดแสงไว้ 2-3 วัน ใยเม็ดเมื่อได้รับแสงจะยุบตัวลงและมีการสะสมอาหารที่จะนไปสร้างเป็นดอกเห็ด

8.การปฏิบัติอื่นๆ หลังโรยเชื้อเห็ด

                 -ถ้า อากาศร้อน ภายในโรงเรือนร้อนจัด ให้เปิดประตูระบายอากาศและความร้อน แต่ถ้าต้องการระบายไม่มากนัก ให้เปิดเฉพาะหน้าต่างๆ โดยเปิดเป็นช่วงๆ วันละ 4-5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 3-5 นาที ห่างกันประมาณ 2 ชั่วโมง จะช่วยให้อากาศภายนอกเข้าไปไล่อากาศเสียในโรงเรือนออกมา และยังเป็นการช่วยให้ดอกเห็ดได้รับแสงบ้างเป็นครั้งคราวด้วย

                 -ตรวจดูความชื้นภายในโรงเรือน ถ้าหน้ากองเพาะ แห้งเกินไป ให้พ่นน้ำเป็นฝอยที่ผิดหน้าให้ฝ้ายซุ่มพอสมควร แต่อย่าให้แฉะ (หัวฉีดสำหรับฉีดน้ำให้เป็นฝอยมีขายในท้องตลาดทั่วไป)

                 -เมื่อออกดอก ควรเปิดหน้าต่างไว้ตลอด เพื่อไล่อากาศเสีย แต่ต้องคอยควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส

9.การปฏิบัติปลีกย่อยทั่วไป

                 -ก่อน การเพาะเห็ด โรงเรือนจะต้องสะอาด เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว จะต้องเก็บวัสดุทุกชิ้นออกให้หมด ทั้งบนชั้นเพาะและพื้นโรงเรือน ใช้น้ำล้างทำความสะอาด

                 -ต้องเปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 4-7 วัน เพื่อให้โรงเรือนแห้ง และก่อนจะเพาะเห็ดรุ่นต่อไปต้องฆ่าเชื้อต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยใช้หัวฉีดพ่นเป็นฝอยทั้งบนพื้นและบนชั้นเพาะโดยเฉพาะบนชั้นจะต้องทำการ ฉีดพ่นให้ทั่วทุกซอกทุกมุม แล้วใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่งทั้งบนพื้นและบนชั้น

                 -ถ้า มีปัญหาเรื่องดอกเห็ดมีขน ดอกแตก ดอกเป็นตุ่มคล้ายหนังคางคก แสดงว่าภายในโรงเรือนมีแก๊สมาก มีกลิ่นเหม็นฉุน อุณหภูมิสูง ต้องแก้ไขโดยเปิดประตูโรงเรือนออกทุกด้าน ใช้น้ำฉีดล้างพื้นให้สะอาด ดอกเห็ดจะค่อยๆ หายเป็นปกติ

                 -ดอกเห็ดบานเร็ว แสดงว่าความชื้นภายในโรงเรือนสูง ให้เปิดประตูระบายอากาศและห้ามใช้น้ำ เมื่อแปลงเพาะเห็ดแห้ง

                 -ถ้าดอกเห็ดเน่า ชุ่มน้ำมาก มีสาเหตุมาจากแปลงเพาะแฉะมากเกินไปวิธีแก้ไขนั้นควรปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 4

                 -เมื่อดอกเห็ดขึ้นเป็นเม็ดเล็กๆ อย่าฉีดน้ำบนดอกเห็ด เพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและตายได้

10.การเก็บดอกเห็ด

                   -ควร ใช้ความระมัดระวังเก็บเฉพาะดอกที่ต้องการ อย่าให้ดอกเล็กๆ ติดขึ้นมาด้วย เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตน้อยลงเนื่องจากเห็ดดอกเล็กจะเจริญเติบโตเป็นเห็ดขนาด ที่ต้องการในวันต่อไป

                   -เวลา เก็บดอกเห็ดที่เหมาะสมควรเป็นเวลาบ่ายใกล้เย็น เพราะอุณหภูมิภายนอกกับภายในโรงเรือนจะใกล้เคียงกัน คนเก็บจะเก็บได้อย่างสบาย เพราะอากาศไม่ร้อนจัด แต่ถ้าท้องถิ่นใดมีความจำเป็นจะต้องเก็บเวลาอื่นก็สามารถทำได้

                   -หลังจากเก็บดอกแล้ว ควรตัดรากออกให้หมด มิฉะนั้นดอกเห็ดที่เก็บมาจะเจริญเติบโตต่อและเห็ดจะบานเร็วขึ้น ทำให้เสียราคา

 

 

ที่มา : http://www.rakbankerd.com/agriculture/hedfang/grow_hedfang05.html

© ฟาร์มเห็ด Bassbio. All Rights Reserved.

Login Form

Bassbio